นายอำเภอเมืองหนองบัวลำภูมอบ ถุงปันสุข ห่วงใยคลายทุกข์ประชาชน   

   

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประยูร อรัญรุท นายอำเภอเมืองหนองบัวลำภู พร้อมด้วยพัฒนาการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ปลัดอำเภอ พัฒนากร ได้ออกเยี่ยมให้กำลังใจ มอบถุงปันสุข ห่วงใย คลายทุกข์ประชาชน พร้อมสอบถามปัญหาความเดือดร้อน และอาการป่วยของผู้ติดเชื้อโควิด-19 และครัวเรือนยากจน ซึ่งได้มอบให้ 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน 41 ครัวเรือน 68 คน ดังนี้ ตำบลกุดจิก โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งโปร่ง(เฉลิมพระเกียรติ) องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนจิตอาสาตำบลกุดจิก ร่วมกันมอบ”ถุงปันสุข ห่วงใย คลายทุกข์ประชาชน”ให้แก่ครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด-19 และรักษาตัวที่บ้าน(Home Isolation : HI) ,ผู้สูงอายุ (อายุ 104 ปี) และครอบครัวยากจน จำนวน 10 ครัวเรือน 12 คน

   และตำบลบ้านขาม โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนจิตอาสาตำบลบ้านขาม ออกเยี่ยมให้กำลังใจ มอบ “ถุงปันสุข ห่วงใย คลายทุกข์ประชาชน” ให้ครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาตัวที่บ้าน(Home Isolation : HI) และศูนย์พักคอยชุมชน(Community Isolation : CI) ซึ่งใช้โรงเรียนในหมู่บ้านเป็นที่รักษาตัวเนื่องจากในครอบครัวมีสภาพไม่เหมาะและเกรงกลัวจะไปแพร่ระบาดคนในครอบครัว ได้สอบถามปัญหาความเดือดร้อนอาการผู้ป่วยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บ้านค้อ ตำบลบ้านขาม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 31 ครัวเรือน 53 คน ซึ่งศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ได้สืบทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และบูรณาการส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อที่ “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง “ และ”ทำให้ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น”

    รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน 41 ครัวเรือน 68 คน จากการซักถามประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากจะติดกันเป็นครอบครัว ได้รับยาตามอาการทานยาแล้วประมาณ 5 วันอาการจะดีขึ้นและก็จะหาย แต่ปัญหาความเดือดร้อนคือในช่วงที่รักษาตัวจะมีปัญหาความเป็นอยู่อาหาร น้ำดื่มที่ต้องกักตัวที่บ้านซึ่งชุมชนจะต้องดูแลช่วยเหลือปัญหาดังกล่าว ผลการปฎิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ชุมชน หมู่บ้านให้ความร่วมมือกันมีความรักความสามัคคีกันในการดูแลผู้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งเป็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ดีของชุมชนที่ “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”